เรื่องน่ารู้ของโคเอนไซม์ คิวเทน และสารอาหารที่ช่วยในเรื่องหัวใจ
โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า โค-คิวแทน (Co-Q10) เป็นสารที่พบในร่างกายตามธรรมชาติ ร่างกายต้องใช้โคเอนไซม์คิวเทนในการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงปกป้องเซลล์จากจากการถูกทำลายอันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง
สรุปคุณสมบัติของโคเอนไซม์ คิวเทน
ลดความเสี่ยงในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ทั้งนี้มีงานวิจัยสนับสนุนว่าการรับประทานโคเอนไซม์ คิวเทน 120 มิลลิกรัมต่อวัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะช่วยลดอัตราการเป็นซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่1) และในปริมาณสูงยังประโยชน์ในการผ่าตัดหัวใจโดยทำให้หัวใจทนทานต่อการขาด เลือดและฟื้นตัวได้ดีขึ้น (อ้างอิงที่2)
มีบทบาทสำคัญในการทำลายสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จึงช่วยป้องกันเรื่องหลอดเลือดหัวใจอันเกิดจากการที่แอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ถูกออกชิไดซ์ (Oxidized) ด้วยอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่3) และสะสมในผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการอักเสบและผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นกลายเป็นพล๊าค (Plaque) หรือตะกอนในผนังเส้นเลือด เกาะที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็ง ไม่ยืดหยุ่นและตีบตัน นำมาซึ่งปัญหาเรื่องโรคหัวใจได้
ช่วยลดระยะเวลาที่ปวดต่อครั้ง รวมถึงลดความถี่ในการปวดหัวไมเกรน (Migraine) ทั้งนี้มีงานวิจัยที่แสดงว่า การให้กลุ่มที่เข้ารับการทดสอบ 31 คน ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน ปริมาณ 150 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า 19 คน จาก 31 คน มีระยะเวลาที่ปวดไมเกรนในแต่ละครั้งลดลงมากกว่า 50% กล่าวคือระยะเวลาที่ปวดโดยเฉลี่ย 7.34 วันต่อเดือน ลดลงเหลือเฉลี่ย 2.95 วันต่อเดือน หลังจากได้รับโคเอนไซม์ คิวเทนเป็นระยะเวลา 3 เดือนและช่วยลดความถี่ในการปวดจากเดิมที่ความถี่ 4.85 เหลือ 2.81 โดยไม่มีผลข้างเคียง (อ้างอิงที่ 4.5)
โคเอนไซม์ คิวเทน ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของร่างกาย โดยจะช่วยในการเปลี่ยน อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นพลังงานไมโตรคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์ร่างกาย ถือว่ามีบทบาทสำคัญในไมโตรคอนเดรียอันเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ (Key role in mitcohondrial bioener getics) จึงพบโคเอนไซม์ คิวเทนได้มากในอวัยวะใช้พลังงานในการทำงาน มากเช่น หัวใจ ปอด และตับ (อ้างอิงที่ 6-8)
อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัสซีเมียรุนแรง ชนิดเบต้า ทาลัสซีเมีย อี (Beta-thaiassemia/HbE) ซึ่งจะมีระดับโคเอนไซม์ คิวเทนในเลือดต่ำลงการให้โคเอนไซม์ คิวเทนทำให้ลดภาวะออกซิเดชั่นภายในเซลล์ และอาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น (อ้างอิงที่9)
อาจจะมีประโยชน์ในโรคทางสมอง ได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia) โรคความจำเป็นเสื่อม (Alzheimers disease) และโรคปาร์กินสัน (Parkinsons disease) (อ้างอิงที่ 10) โรคหอบหืด (Bronchialasthma) อ้างอิงที่11) โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (Tubulopathy and Chronic tubulointersticial nephritis) (อ้างอิงที่12) แม้ว่าการวิจัยสำหรับโรคปาร์กินสัน โรคหอบหืด และ โรคไต พบว่ายังไม่ได้ผลในการรักษา แต่โรคเหล่านี้มีกลไกจากความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาท และพบว่าระดับโคเอนไซม์คิวเทนในเลือดต่ำลงในโรคเหล่านี้ด้วยอีกทั้งมีความ ปลอดภัยและมีประโยชน์จากการวิจัยในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลอง ปัจจุบันมีงานวิจัยในคนที่มากขึ้นสำหรับโรคทางสมองเสื่อมอีกหลายชนิด
กล่าวโดยสรุป โคเอนไซม์ คิวเทนมีบทบาทสำคัญมากมายรวมถึงประโยชน์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องหัวใจการเป็น Antioxidant ที่ทำลายอนุมูลอิสระ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงานของเซลล์ รวมถึงช่วยในเรื่องการปวดหัวไมเกรน อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยทาลัลซีเมียรุนแรง ชนิดเบต้าทาลัสซีเมีย อี (Betathalassemia/HbE) และอาจมีประโยชน์ในโรคทางสมองได้แก่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรคความจำเสื่อม และโรคปาร์กินสัน ดังกล่าวมาแล้วเบื้องต้น
เนื่องจากปริมาณของโคเอนไซม์ คิวเทนที่มีในร่างกายจะลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น การรับประทานโคเอนไซม์ คิวเทน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมสุขภาพ
สรุปคุณสมบัติของทอรีน (Taurine)
ทอรีนเป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมทำเป็นอาหารเสริมในต่างประเทศ พบมากในสมอง ในหัวใจ ในจอตา และในกล้ามเนื้อ ในน้ำนมของมนุษย์มีส่วนในการเมตาบอลิซึมเซลล์ต่างๆ ทั้งเรื่องการคุมการทำงานของแคลเซียมในเซลล์ และการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจุบันนิยมใช้ในเรื่องบำรุงหัวใจและเบาหวาน (อ้างอิงที่13)
ทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในร่างกาย ทอรีนจะเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำดี ทั้งนี้มีรายงานวิจัยสนับสนุนว่าการเสริมทอรีนให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ขาดเลือด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure) ให้ผลที่ดีและมีความปลอดภัย (อ้างอิงที่ 14)
สรุปคุณสมบัติของแอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine)
แอล-คาร์นิทีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง มีบทบาทในกระบวนการเผาผลาญ โดยเป็นตัวนำกรดไขมันเข้ามาสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์ มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า แอล-คาร์นิทีนมีประโยชน์ในการช่วยรักษาโรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะทั้งหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure)
สรุปคุณสมบัติของชิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ (Citrus Bioflavonoid)
ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์ ถือเป็นสารอาหารสำคัญจากพืชผักและผลไม้ที่เรียกว่า ไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยัน ยอมรับทั่วโลกในการต่อต้านการเป็นมะเร็งและการเป็นโรคหัวใจ (อ้างอิงที่17)
เอกสารอ้างอิง
1. Effect of coenzyme Q10 on risk of atherocleosis in patients recent myocaraial infarction. Mol Cell Biochem. 2003 Apr:246(1-2):75-82
2.Coenzyme Q10 theapy before cardiac surgery improves mitochondrial function and in Vitro contractility of myocardial tissue. K Thorac Cardiovasc Surg. 2005 Jan:129(1) :25-32.
3.Dietary antioxidants in preventing atherogenesis. Atherosclerosis. 2006 Jul:187(1):1-17, Epub 2005 Nov 28
4.Open label trial of coenzyme Q10 as a migraine preventive, Cephalalgia, 2002 Mar:22(2):137-41
5.Efficacy of coenzyme Q10 in migraine prophylaxis: a randomized controlled trial., Neurology. 2005 Feb 22:64(4) :713-5
6.Coenzyme Q10, Qverview, National Cancer Institute., U.s.National Institutes of Health., www.cancer.gov
7.Coenzyme Q10-Wikipedia,the free encyclopedia.. www.en.wikipedia.org/wiki/Coenzyme_Q
8.Bioenergetic and antioxidant properties of coenzyme Q10:recent developments.. Mol Biotochnol.2007 Sep:37(1):31-7
9.Effect of coenzyme Q10 as an antioxidant in beta-thaiassemia/Hb E patients., Biofactors. 2005:25(1-4):255-34
10. The emerging role of coenzyme Q-10 in aging, neurodegeneration, cardlovascular disease, cancer and diabetes melllitus., Curr Neurovasc Red 2005 Dec:2(5):447-59
11. Decreased levels of coenzyme Q(10) in patients with bronchial asthma. Allergy. 2002 Sep:57 (9):811-4.
12.Effect of coenzyme Q10 in patients with kidney diseases. Cas Lek Cesk. 2001 May 24:140(10):307-10
13. Taurine and its potential therapeutic application . Postepy Hig Med Dosw. 2008 Feb 25:62:75-86
14. Therapeutic effect of taurine in congestive heart fallure: a double-blind crossove trial., Clin Cardiol. 1985 May:8(5)276-82
15. L-carnitine treatment for congestive heart failureexperimental and clinical study., Jpn Circ J. 1992 Jan:56(1):86-94
16. Carnitine from Wikipedia, the free encyclopedia. www.en.wikipedia.org
17. Antioxidant Activities of Flavonoids. Deportment of Environmental and Molecular Toxicology Oregon State University.