GIFF2WIN.COM                                              






 

โอเมก้า 3




เมล็ดเชีย กิฟฟารีน Giffarine Chia Seed

มหัศจรรย์ธัญพืช..เพื่อสุขภาพ
“หุ่นสวย สุขภาพดี หมดกังวลเรื่องระบบขับถ่าย”

ใหม่ล่าสุด !! เมล็ดเชียคุณภาพดี คัดสรรแบบ Organic 100 % ได้คุณค่าเต็มเมล็ด และได้การรับรองจาก USDA จากประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป…





เซซามิ-เอส กิฟฟารีน Giffarine Sesami-S ทำลายเซลล์มะเร็ง สร้างมวลกระดูก

เซซามิ-เอส กิฟฟารีน 


เซซามิ-เอส กิฟฟารีน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากงาดำ ผสมข้าวกล้องหอมนิลงอก วิตามินซี และซีลีเนียม ชนิดแคปซูล

จุดเด่น : อุดมไปด้วยสารสกัดจากงาดำถึง 200 mg. (ให้เซซามิน 20 mg.) มีความเข้มข้นมากกว่าผงงาดำแคปซูลทั่วไปในท้องตลาดทั่วไปถึง 20 กว่าเท่า
เซซามิ-เอส 1 แคปซูล เทียบเท่าผงงาดำแคปซูลทั่วไปถึง 30 แคปซูล




น้ำมันรําข้าวจมูกข้าว กิฟฟารีน โอรีซา-อีORYZA-E 

          น้ำมันจมูกข้าวและน้ำมันรำข้าว ผสมวิตามินอี- มีโอเมกา 3 โอเมกา 6 แกมมาโอรีซานอล ลดไขมันในเลือด
น้ำมันรำข้าวคืออะไร
น้ำมันรำข้าว สกัดมาจากเยื่อสีน้ำตาลที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวที่ได้จากกระบวนการ สีข้าว เรียกว่า “รำข้าว” ซึ่งเป็นส่วนประกอบเพียง 7-8% ของข้าว แต่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ


เรื่องน่ารู้ของ น้ำมันปลาและ DHA



DHA มีในน้ำมันปลา มารู้จักเรื่องน่ารู้ของ DHA กันนะครับ

          น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูง ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้น มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สำคัญได้แก่

1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ DHA
2. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA

          แหล่งของ DHA และ EPA ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเล และสาหร่าย โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (อ้างอิงที่ 1) ขณะที่ DHA มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงตั้งแต่แรกเกิด ที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและเพียงพอ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2) DHA จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำ (อ้างอิงที่ 3) นอกจากนี้ DHA ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทตา และระบบการทำงานของสายตาอีกด้วย (อ้างอิงที่ 2)



DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม

 

          ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคความจำเสื่อม โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้และความจำ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น(อ้างอิงที่ 4) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันสูง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป (อ้างอิงที่ 5)

          โรคอัลไซเมอร์ จะส่งผลให้เกิดความจำเสื่อม การทำงานประสานของร่างกายลดลง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลงลืม สับสนและไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำปกติได้ การมีเหตุผลจะลดลง ที่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ (อ้างอิงที่ 4) ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า สำหรับในประเทศไทยมีผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมดประมาณ 8.3 ล้านคน คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคอัลไซเมอร์ จะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรคเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวด้วย ดังนั้นโรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่น่ากังวลในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก (อ้างอิงที่ 5)

          หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมของ อะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) จนกลายเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท โดยจะทำลายสมดุลไอออน ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลาย ลิปิด และโปรตีนโดยเฉพาะที่เยื่อหุ้มเซลล์ และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ Microglia ซึ่งเมื่อ Microglia ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลาย (อ้างอิงที่ 4,6)

          มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า DHA ในน้ำมันปลาช่วยเพิ่มสาร LR11 โปรตีน ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta) ที่จะรวมตัวเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques) หนึ่งในสาเหตุของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ (อ้างอิงที่ 7) อีกงานวิจัยที่ทำการทดลองกับผู้สูงอายุ พบว่าการรับประทาน DHA วันละ 900 มก. เป็นเวลา 6 เดือน สามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำได้ (อ้างอิง ที่ 8) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติมสนับสนุนว่า DHA สามารถชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภท อัลไซเมอร์ได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยสูง (อ้างอิงที่ 9) รวมถึงงานวิจัยระบุว่าการที่ร่างกายได้รับ DHA ที่ไม่เพียงพอจะมีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระ เกิด lipid peroxidation ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ (อ้างอิงที่ 1)

 


DHA กับโรคสมาธิสั้น

          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ขาด DHA จะมีความเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้ผิดปกติจากเด็กทั่วไป (อ้างอิงที่ 10) มีงานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย โดยศึกษากับเด็ก อายุ 7-12 ปี ที่มีอาการสมาธิสั้นพบว่า การเพิ่มขึ้นของดีเอชเอในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เด็กมีการอ่านคำที่ดีขึ้น การสะกดคำที่ดีขึ้น ความสนใจดีขึ้น พฤติกรรมที่ผิดปกติ ความกระสับกระส่าย และอาการสมาธิสั้นโดยรวมลดลง (อ้างอิงที่ 11) และมีงานวิจัยในประเทศโอมาน ระบุว่าเด็ก ที่เป็นโรคออทิซึม หรือ ผู้ป่วยออทิสติก จะมีระดับของ DHA ในเม็ดเลือดแดงต่ำเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 12)

ดังนั้นการรับประทานอาหาร หรือ อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA จะมีส่วนสำคัญในการเสริมพัฒนาการในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และผู้ป่วยออทิสติก นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเป็น โรคอัลไซเมอร์ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เพิ่มการเรียนรู้ และการจดจำได้อีกด้วย


เอกสารอ้างอิง

1. ประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ออนไลน์)http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/17557

2. A Diet Enriched with the Omega-3 Fatty Acid Docosahexaenoic Acid Reduces Amyloid Burden in an Aged Alzheimer Mouse Model. The Journal of Neuroscience, March 23,2005;25(12):3032-3040
3. ทางเลือกในการพัฒนาสมองด้วยสาร DHA โดย สิงหะเนติ, สรวงสุดา 2541 สาร DHA ทางเลือกในการพัฒนาสมอง วิทยาศาสตร์และโทคโนโลยี 13(2)พค.-สค. (ออนไลน์).http://www.school.net.th/library/snet4/anatomy/dha.htm
4. Expression of Amyloid-Beta and Interleukin-13 Recombinant Protein in Escherichia coli. National Graduate Research Conference Nokhon Ratchasima Rajabhat University.
5. TCELS พัฒนาโปรแกรมตรวจคัดกรองเสี่ยงอัลไซเมอรไดดวยสมารทโฟน (ออนไลน์)http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=53497
6. Omega-3 fatty acids and dementia. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. Aug-Sep 2009;81(2-3):213-21
7. Omega-3 Fatty Acid Docosahexaenoic Acid Increases SorLA/LR11, a Sorting Protein with Reduced Expression in Sporadic Alzheimer’s Disease (AD): Relevance to AD Prevention. J Neurosci, December 26,2007;27(52):14299-14307
8. Beneficial effects of docosahexaenoic acid on cognition in age-related cognitive decline. Alzheimer’s & Dementia: The journal of the Alzheimer’s association, November 2010, Volume 6, Issue 6, Pages 456-464.
9. DHA May Prevent Age-Related Dementia. J Nutr. April 2010; 140(4):869-874
10. เสริมสุขภาพกับน้ำมันปลา (Fish oil)โดย ยุพา ชาญ วิกรัย นักกำหนดอาหาร (ออนไลน์)http://www.siamkidney.org/index.php?option=com_content&view=article&id=37%3A-fish-oil&catid=17%3A2011-09-06-03-40-02&Itemid=41
11. Eicosapentaenoic and docosahexaenoic acids, cognition, and behavior in children with attention-deficit/hyperactivity disorder: a randomized controlled trial. Nutrition, June 2012; 28(6):670-7.
12. Impact of nutrition on serum levels of docosahexaenoic acid among Omani children with autism. Nutrition, June 2013; S0899-9007(13)00196-2.


  
   ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ แต่สามารถเพิ่มโอกาสในการดูแลสุขภาพได้

  สามารถนำรหัสสมาชิก  ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
  สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 (สมัครสมาชิกกิฟฟารีนเพียง 180 บาท พร้อมรับเว็บไซต์ฟรี)
 รับส่วนลดซื้อสินค้ากิฟฟารีน 25%
  - รับสิทธิ์คุ้มครองประกันอุบัติภัย ตั้งแต่ 120,000-320,000 บาท

   
    สมัครสมาชิกกิฟฟารีนที่นี่...!
  
   
Main Menu

 
 สนใจสมัครสมาชิก / สั่งซื้อสินค้า
 ติดต่อ : สุรชัย 
 รหัสสมาชิก 
   
 เพจ : 
   0632037811
 giff2win@gmail.com









สงวนลิขสิทธิ์สำหรับทีมงานGiff2win.com เท่านั้น
Website Templates by Free CSS Templates