คอลลาจีน่า กิฟฟารีน CollaGenaa Giffarine
คอลลาจีน่า กิฟฟารีน ธัญญาหารชนิดเม็ด ผสมคอลลาเจน กลิ่นข้าวโพด ตรา กิฟฟารีน
ส่วนประกอบสำคัญ :
เกล็ดธัญพืช และคอลลาเจน อร่อยรับประทานง่าย
ฆอ.2207/2556
วิธีรับประทาน : เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ คอลลาเจน
คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี เป็นตัวช่วยสร้างความตึงกระชับให้กับผิว ผิวหนังจะมีการเสื่อม สภาพได้ด้วยสาเหตุหลักๆ 2 ประการคือ การเสื่อมตามวัย และเสื่อมเนื่องจากผลกระทบจากสภาวะแวดล้อม ทำให้มีผลกระทบต่อผิวพรรณ เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผิวหมองคล้ำ ไม่เต่งตึงที่สำคัญ คือ กลไกของความเสื่อมที่ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นจากทั้งสองสาเหตุนี้เกิดจากเส้นใยคอลลาเจน (Collagen fibers) ที่ประสานกันเป็นเส้นใยอยู่ใต้ชั้นผิวหนังแท้มีการเสื่อมลง
ผิวหนังของคนเรา ปกติแล้วแบ่งเป็น 3 ชั้นคือ
1. ผิวหนังชั้นกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างสารเคอราติน (Keratin) ปกคลุมผิวหน้าของผิวหนังเป็นชั้นขี้ไคล ขั้นหนังกำพร้านี้ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นให้กับพื้นผิว ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ (อ้างอิงที่ 1,2)
2. ผิวหนังแท้ (Dermis) เป็นผิวชั้นใน ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเส้นใยประสานกันไปมาคือ โปรตีนเส้นใยของคอลลาเจน (Collagen fibers), โปรตีนเส้นใยอีลาสติก (Elastic fibers) และโปรตีนเส้นใยร่างแห (Recticulum fibers) นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาทต่างๆ ที่รับความรู้สึกอยู่ด้วย (อ้างอิงที่ 1,2)
3. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutis) ทำหน้าที่รองรับผิวหนังให้คงรูปร่าง ช่วยลดการกระทบกระแทก และเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายยามขาดแคลนพลังงาน (อ้างอิงที่ 1,2) คอลลาเจน (Collagen) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คอลลา(Kolla) ซึ่งแปลว่ากาว คอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ประสานกันเป็นเส้นใยอยู่ใต้ชั้นผิวหนังแท้ ทำหน้าที่เสริมความเรียบตึงให้แก่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังดูเรียบ เนียน และทำงานคู่กับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อ อีลาสติน (Elastin) ในขณะที่คอลลาเจนมีหน้าที่เสมือนโครงร่างผิว อีลาสตินก็ทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นแก่ผิว (อ้างอิงที่ 3)
ในวัยเด็กคอลลาเจนยังไม่เสื่อมสลายและมีจำนวนมาก จึงทำให้เห็นว่าเด็กๆ หรือวัยรุ่นที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาวมีผิวหนังที่เต่งตึง แต่เมื่อมีวัยมากขึ้นเส้นใยคอลลาเจนเหล่านี้จะเสื่อมสลายและมีปริมาณลดลง ทำให้ชั้นผิวหนังยุบตัวลง อันเป็นต้นเหตุของความเหี่ยวย่นและริ้วรอย อย่างไรก็ตามเราสามารถเสริมสร้างคอลลาเจนให้แก่ร่างกายได้เพื่อลดรอยเหี่ยวย่น (อ้างอิงที่ 4 ) ด้วยการรับประทานคอลลาเจน หรือวิธีการฉีดคอลลาเจนเข้าใต้ชั้นผิวหนังแท้ แต่วิธีการฉีดนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากเพราะต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังนั้น วิธีการรับประทานจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด